วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

Learning Logs 14

วันจันทร์ 9 พฤศจิกายน 2563

 

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำโบว์ชัวมาเพื่อทำมาทำปริศนาคำทายในเรื่องต่างๆ จากโบว์ชัวต่างๆ มีทั้งอาหาร ของใช้ทั่วไป

          ซึ่งแต่ละกลุ่มทำเรื่องดังต่อไปนี้

1.อาหาร

2.ของใช้ทั่วไป

3.เครื่องใช้ไฟฟ้า

 





     




    

     


Vocabulary

Objective                 วัตถุประสงค์

Educational games     เกมการศึกษา

Method                   วิธีการ

Discuss                    สนทนา

Question                  คำถาม

การประเมิน

ประเมินตนเอง : ฟังและจกบันทึกข้อมูลในการเขียนแผน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือในการฟัง การให้คำแนะนำ และบางคนอาจจะยังไม่ได้ตั้งใจฟัง

ประเมินอาจารย์ : ให้คำแนะนำดี สามารถนำไปใช้ได้จริง


  

Learning Logs 15

วันจันทร์ ที่ 16 พฤศจิกายน 2563

ความรู้ที่ได้รับ

          อาจารย์ได้แจกกระดาษและนักศึกษาเขียนถึงประเด็นสำคัญของกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมหลัก ประกอบได้ด้วย

1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

2.กิจกรรมเสรี

3.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

4.กิจกรรมกลางแจ้ง

5.กิจกรรมเสริมประสบการณ์

6.กิจกรรมเกมการศึกษา


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

- ส่งเสริมการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ โดยใช้เสียงเพลง คำคล้องจองหรือเครื่องดนตรีประกอบการเคลื่อนไหว

- ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มุ่งพัฒนาการใช้ส่วนต่างๆของร่างกายใช้ประสานสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์ด้วยการเคลื่อนไหวลักษณะต่างๆ

กิจกรรมเสรี

- เล่นอิสระตามมุมหรือมุมประสบการณ์หรือศูนย์การเรียนที่จัดไว้ในห้องเรียน

- ให้เด็กเลือกเล่นได้อย่างเสรีตามความสนใจและความต้องการทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มหรืออาจเป็นกิจกรรมที่ผู้สอนจัดเสริมขึ้น

 กิจกรรมเสริมประสบการณ์

- พัฒนาทักษะการเรียนรู้ มีการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่

- ฝึกการฟัง  พูด  สังเกต คิดแก้ปัญหาและใช้เหตุผล

- ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน โดยจัดกิจกรรมด้วยวิธีต่างๆ

กิจกรรมกลางแจ้ง

- จัดให้ออกไปข้างนอกห้องเรียนเพื่อออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกอย่างอิสระโดยยึดความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

 - แสดงออกทางอารมณ์  ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยจัดกิจกรรมศิลปะลักษณะต่างๆ

กิจกรรมเกมการศึกษา

- เป็นเกมที่เล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มก็ได้

- มุ่งเน้นการพัฒนาสติปัญญาให้รู้จักสังเกต  คิดหาเหตุผลและเกิดความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์

- เป็นการฝึกฝนกฎเกณฑ์กติกาง่ายๆ

 วัตถุประสงค์ของแต่ละกิจกรรม

1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

1. พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน

2. ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด

3. ให้เด็กได้รับประสบการณ์ ความสนุกสนาน รื่นเริง โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย

4. สนองความต้องการตามธรรมชาติ ความสนใจและความพอใจของเด็ก

5. ให้เด็กเกิดความซาบซึ้งและมีสุนทรียภาพในการเคลื่อนไหวอย่างเสรีตามจังหวะ รวมทั้งเกิดทักษะ ในการฟังดนตรีหรือจังหวะต่างๆ

6. พัฒนาทักษะด้านสังคม การปรับตัว และความร่วมมือในกลุ่ม

7. ให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และให้เด็กได้มีโอกาสแสดงออกอย่างสร้างสรรค์

8. พัฒนาภาษา ฝึกฟังคำสั่งข้อตกลง และปฏิบัติตามได้

9. ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี

     2.กิจกรรมเสรี

1. ส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก และประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

2. ส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ

3. ฝึกให้เด็กมีความรับผิดชอบในการทำงานและความมีระเบียบวินัย

4. ฝึกและส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิดแก้ปัญหา การคิดอย่างมีเหตุผล

5. ส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาและให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน

6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กพัฒนาทางด้านภาษาและทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

7. ส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิด วางแผน และตัดสินใจในการทำกิจกรรม

8. ส่งเสริมให้เด็กรู้จักปรับตัวในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักรอคอย เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และให้อภัย

9. ส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ และสิ่งแวดล้อม

3.กิจกรรมเกมการศึกษา

1.เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเล่นเกมประเภทสองมิติ

2. เพื่อพัฒนาความสามารถที่จะอธิบายความแตกต่างของเกมในเรื่องสี รูปร่าง ขนาด

3. เพื่อพัฒนาความสามารถในกการบอกลักษณะของสิ่งของซึ่งอาจเป็นนามธรรม

4. เพื่อพัฒนาความสามารถในการจดจำคุณสมบัติ โดยนำมาวางในตาราง

5. ฝึกกการสังเกตและจำแนกด้วยสายตา

7. ฝึกการตัดสินใจ

          4. กิจกรรมกลางแจ้ง

1.ส่งเสริมให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี

2.พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก ให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว

3.พัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ

4.ให้เกิดความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียด

5.ให้มีความอยากรู้อยากเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัว

6.ให้รู้จักปรับตัวในการเล่นและทำงนร่วมกับผู้อื่น

7.ให้รู้จักระเบียบวินัย การรอคอย รวมทั้งการรู้จักระวังรักษาความปลอดภัยทั้งของตนเองและผู้อื่น

8.ให้รู้จักการตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเอง

9.เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น การสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก เป็นต้น

5.กิจกรรมเสริมประสบการณ์

1. ฝึกมารยาทในการฟัง การพูด

2. ฝึกการสังเกตและร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล

3. ฝึกความรับผิดชอบและปฏิบัติตามข้อตกลง

4. ฝึกให้รู้จักแสวงหาความรู้ เกิดการเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตนเอง

5. ฝึกการกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

6. ส่งเสริมการใช้ภาษาในการฟัง พูด และการถ่ายทอดเรื่องราว

7. ส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะพื้นฐานการมีสมาธิในการทำงาน

8. ปลูกฝังให้มีคุณธรรม จริยธรรม และลักษณะนิสัยที่ดี

9. รู้จักปรับตัวในการเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น

10. ให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว

11. ให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทดลอง

6. กิจกรรมเกมการศึกษา

1.ส่งเสริมการสังเกต จำแนก และเปรียบเทียบ

2.ส่งเสริมการใช้เหตุผลและการตัดสินใจแก้ปัญหา

3.ส่งเสริมให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เรียนรู้

 4.ส่งเสริมให้รู้จักคุ้นเคยกับสัญลักษณ์ คำที่มีความหาย

 5.ส่งเสริมประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ

 6.ฝึกให้มีคุณธรรมต่าง ๆ เช่น ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย

 7.ทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนรู้

Vocabulary

Technique                เทคนิค

Creative                  ความคิดสร้างสรรค์

Planning                  การวางแผน

Difference                ความแตกต่าง

Artistic                    ศิลปะ

การประเมิน

ประเมินตนเอง : นำเสนอกิจกกรมของตัวเอง และตอบคำถาม

ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือในการนำเสนองาน

ประเมินอาจารย์ : แนะนำกิจกรรมเพิ่มเติมเพื่อนำไปใช้ในต่อไป

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

Learning Logs 13

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2563


ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ได้ตรวจแผนจากงานที่ส่งไปว่าควรเน้นอะไร วิธีการเขียนที่ถูกต้อง รวมไปถึงมาตรฐานของเด็กปฐมวัย

มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์

          หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จำนวน ๑๒ มาตรฐาน ประกอบด้วย

๑.พัฒนาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย ๒ มาตรฐานคือ

                   มาตรฐานที่ ๑ ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี

                   มาตรฐานที่๒ กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน

           ๒.พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ประกอบด้วย ๓ มาตรฐานคือ

                   มาตรฐานที่ ๓  มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข

                   มาตรฐานที่ ๔ ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว

                   มาตรฐานที่ ๕ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม

           ๓.พัฒนาการด้านสังคม ประกอบด้วย ๓ มาตรฐานคือ

                   มาตรฐานที่ ๖ มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                   มาตรฐานที่ ๗ รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย

                   มาตรฐานที่ ๘ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

           ๔.พัฒนาการด้านสติปัญญา ประกอบด้วย ๔ มาตรฐานคือ

                   มาตรฐานที่ ๙  ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย

                   มาตรฐานที่ ๑๐ มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้

                   มาตรฐานที่ ๑๑ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

                   มาตรฐานที่ ๑๒ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย

 

ตัวบ่งชี้

          ตัวบ่งชี้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาเด็กที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์

สภาพที่พึงประสงค์

          สภาพที่พึงประสงค์เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถตามวัยที่คาดหวังให้เด็กเกิด บนพื้นฐานพัฒนาการตามวัยหรือความสามารถตามธรรมชาติในแต่ละระดับอายุเพื่อนำไปใช้ในการกำหนดสาระเรียนรู้ใน การจัดประสบการณ์ กิจกรรมและประเมินพัฒนาการเด็ก โดยมีรายละเอียดของมาตรฐาน มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ และสภาพที่พึงประสงค์ ดังนี้     

 มาตรฐานที่ ๑ ร่างการเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๑.๑ มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์

-น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัย

-น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัย

-น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัย

๑.๒ มีสุขภาพอนามัย

      สุขนิสัยที่ดี

๑.๒.๑ ยอมรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำที่สะอาดเมื่อมีผู้ชี้แนะ

๑.๒.๑ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำสะอาดด้วยตนเอง

๑.๒.๑ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้หลายชนิดและดื่มน้ำสะอาดได้ด้วยตนเอง

๑.๒.๒ ล้างมือก่อน  รับประทานอาหารและหลังจากใช้ห้องน้ำ   ห้องส้วมเมื่อมีผู้ชี้แนะ

๑.๒.๒ ล้างมือ       ก่อน รับประทานอาหารและหลังจากใช้ห้องน้ำห้องส้วมด้วยตนเอง

๑.๒.๒ ล้างมือ

ก่อนรับประทานอาหารและหลังจากใช้ห้องน้ำห้องส้วมด้วยตนเอง

๑.๒.๓ นอนพักผ่อนเป็นเวลา

๑.๒.๓ นอนพักผ่อนเป็นเวลา

๑.๒.๓ นอนพักผ่อนเป็นเวลา

๑.๒.๔ ออกกำลังกายเป็นเวลา

๑.๒.๔ ออกกำลังกายเป็นเวลา

๑.๒.๔ ออกกำลังกายเป็นเวลา

๑.๓ รักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น                  

๑.๓.๑ เล่นและทำ  กิจกรรมอย่างปลอดภัยเมื่อมีผู้ชี้แนะ

๑.๓.๑ เล่นและทำ  กิจกรรมอย่างปลอดภัยด้วยตนเอง

๑.๓.๑ เล่น ทำกิจกรรมและปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างปลอดภัย

มาตรฐานที่ ๒ กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๒.๑ เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่วประสานสัมพันธ์และทรงตัวได้

๒.๑.๑ เดินตามแนวที่กำหนดได้

๒.๑.๑ เดินต่อเท้าไปข้างหน้าเป็นเส้นตรงได้โดยไม่ต้องกางแขน

๒.๑.๑ เดินต่อเท้าถอยหลังเป็นเส้นตรงได้โดยไม่ต้องกางแขน

๒.๑.๒ กระโดดสองขาขึ้นลงอยู่กับที่ได้

๒.๑.๒ กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้โดยไม่เสีย การทรงตัว

๒.๑.๒ กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เสียการทรงตัว

๒.๑.๓ วิ่งแล้วหยุดได้

๒.๑.๓ วิ่งหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้

๒.๑.๓ วิ่งหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้อย่างคล่องแคล่ว

๒.๑.๔ รับลูกบอลโดยใช้มือและลำตัวช่วย

๒.๑.๔ รับลูกบอลโดยใช้มือทั้งสองข้าง

๒.๑.๔ รับลูกบอลที่กระตอบขึ้นจากพื้นได้

๒.๒ ใช้มือ-ตา ประสานสัมพันธ์กัน

๒.๒.๑ ใช้กรรไกรตัดกระดาษขาดจากกันได้โดยใช้มือเดียว

๒.๒.๑ ใช้กรรไกรตัดกระดาษตามแนวเส้นตรงได้

๒.๒.๑ ใช้กรรไกรตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งได้

๒.๒.๒ เขียนรูปวงกลมตามแบบได้

๒.๒.๒ เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้อย่างมีมุมชัดเจน

๒.๒.๒ เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้อย่างมีมุมชัดเจน

๒.๒.๓ ร้อยวัสดุที่มีรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑ ชม. ได้

๒.๒.๓ ร้อยวัสดุที่มีรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๐.๕ ชม. ได้

๒.๒.๓ ร้อยวัสดุที่มีรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๐.๒๕ ชม. ได้

 มาตรฐานที่ ๓ มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๓.๑ แสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม

๓.๑.๑ แสดงอารมณ์

ความรู้สึกได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์

๓.๑.๑ แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้ตาม สถานการณ์

๓.๑.๑ แสดงอารมณ์ ความรู้สึกได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม

๓.๒ มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น

๓.๒.๑ กล้าพูดกล้าแสดงออก

๓.๒.๑ กล้าพูดกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมบางสถานการณ์

๓.๒.๑ กล้าพูดกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์

๓.๒.๒ แสดงความพอใจในผลงานตนเอง

๓.๒.๒ แสดงความพอใจในผลงานและความสามารถของตนเอง

๓.๒.๒ แสดงความพอใจในผลงานและความสามารถของตนเองและผู้อื่น

 มาตรฐานที่ ๔ ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๔.๑ สนใจ มีความสุข      และแสดงออกผ่านงานศิลปะ  ดนตรี และการเคลื่อนไหว

๔.๑.๑ สนใจ มีความสุข และแสดงออกผ่านงานศิลปะ

๔.๑.๒ สนใจ มีความสุข และแสดงออกผ่านเสียงเพลง ดนตรี

๔.๑.๓ สนใจ มีความสุข และแสดงท่าทาง/เคลื่อนไหว ประกอบเพลง จังหวะ และดนตรี

 มาตรฐานที่ ๕ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๕.๑ ซื่อสัตย์สุจริต

๕.๑.๑ บอกหรือชี้ได้ว่าสิ่งใดเป็นของตนเองและสิ่งใดเป็นของผู้อื่น

๕.๑.๑ ขออนุญาตหรือรอคอยเมื่อต้องการสิ่งของของผู้อื่นเมื่อมีผู้ชี้แนะ

๕.๑.๑ ขออนุญาตหรือรอคอยเมื่อต้องการสิ่งของของผู้อื่นด้วยตนเอง

๕.๒ มีความเมตตากรุณา มีน้ำใจและช่วยเหลือแบ่งปัน

๕.๒.๑ แสดงความรัก

เพื่อนและมีเมตตา  สัตว์เลี้ยง

๕.๒.๑ แสดงความรักเพื่อนและมีเมตตา

สัตว์เลี้ยง

๕.๒.๑ แสดงความรัก

เพื่อนและมีเมตตา สัตว์เลี้ยง

๕.๓ มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

๕.๓.๑ แสดงสีหน้าหรือท่าทางรับรู้ความรู้สึกผู้อื่น

๕.๓.๑ แสดงสีหน้าและท่าทางรับรู้ความรู้สึกผู้อื่น

๕.๓.๑ แสดงสีหน้าและท่าทางรับรู้ความรู้สึกผู้อื่นอย่างสอดคล้องกับสถานการณ์

๕.๔ มีความรับผิดชอบ

๕.๔.๑ ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ เมื่อมีผู้ช่วยเหลือ

๕.๔.๑ ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ เมื่อมีผู้ชี้แนะ

๕.๔.๑ ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จด้วยตนเอง

 มาตรฐานที่ ๖มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๖.๑ ช่วยเหลือตนเอง

      ในการปฏิบัติ

      กิจวัตรประจำวัน

๖.๑.๑ แต่งตัวโดยมีผู้ช่วยเหลือ

๖.๑.๑ แต่งตัวด้วยตนเอง

๖.๑.๑ แต่งตัวด้วยตนเองได้อย่างคล่องแคล่ว

๖.๑.๒ รับประทานอาหารด้วยตนเอง

๖.๑.๒ รับประทานอาหารด้วยตนเอง

๖.๑.๑ รับประทานอาหารด้วยตนเองอย่างถูกวิธี

๖.๑.๓ ใช้ห้องน้ำห้องส้วม โดยมีผู้ช่วยเหลือ

๖.๑.๓ ใช้ห้องน้ำห้องส้วมด้วยตนเอง

๖.๑.๓ ใช้และทำความสะอาดหลังใช้ห้องน้ำห้องส้วม ด้วยตนเอง


ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๖.๒ มีวินัยในตนเอง

๖.๒.๑ เก็บของเล่นของใช้เข้าที่เมื่อมีผู้ชี้แนะ

๖.๒.๑ เก็บของเล่นของใช้เข้าที่ด้วยตนเอง

๖.๒.๑ เก็บของเล่นของใช้เข้าที่อย่างเรียบร้อยด้วยตนเอง

๖.๒.๒ เข้าแถวตามลำดับก่อนหลังได้เมื่อมีผู้ชี้แนะ

๖.๒.๒ เข้าแถวตามลำดับก่อนหลังได้ด้วยตนเอง

๖.๒.๒ เข้าแถวตามลำดับก่อนหลังได้ด้วยตนเอง

๖.๓ ประหยัดและ

      พอเพียง

๖.๓.๑ ใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างประหยัดและพอเพียง เมื่อมี

ผู้ชี้แนะ

๖.๓.๑ ใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างประหยัดและพอเพียง เมื่อมี

ผู้ชี้แนะ

๖.๓.๑ ใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างประหยัดและพอเพียง ด้วยตนเอง

 มาตรฐานที่ ๗รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความเป็นไทย

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๗.๑ ดูแลรักษา

      ธรรมชาติและ

      สิ่งแวดล้อม

๗.๑.๑ มีส่วนร่วมดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อมี

ผู้ชี้แนะ

๗.๑.๑ มีส่วนร่วมดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อมี

ผู้ชี้แนะ

๗.๑.๑ ดูแลรักษา

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง

๗.๑.๒ ทิ้งขยะได้ถูกที่

๗.๑.๒ ทิ้งขยะได้ถูกที่

๗.๑.๒ ทิ้งขยะได้ถูกที่

๗.๒ มีมารยาทตาม

      วัฒนธรรมไทย

      และรักความเป็น

      ไทย

๗.๒.๑ ปฏิบัติตนตามมารยาทไทยได้เมื่อมี

ผู้ชี้แนะ

๗.๒.๑ ปฏิบัติตนตามมารยาทไทยได้ด้วยตนเอง

๗.๒.๑ ปฏิบัติตนตามมารยาทไทยได้ตามกาลเทศะ

๗.๒.๒ กล่าวคำขอบคุณและขอโทษเมื่อมีผู้ชี้แนะ

๗.๒.๒ กล่าวคำขอบคุณและขอโทษด้วยตนเอง

๗.๒.๒ กล่าวคำขอบคุณและขอโทษด้วยตนเอง

๗.๒.๓ หยุดยืนเมื่อได้ยินเพลงชาติไทยและเพลงสรรเสริญพระบารมี

๗.๒.๓ ยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงชาติไทยและเพลงสรรเสริญ

พระบารมี

๗.๒.๓ ยืนตรงและร่วมร้องเพลงชาติไทยและเพลงสรรเสริญ

พระบารมี

มาตรฐานที่ ๘อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบ                  ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๘.๑ ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล

๘.๑.๑ เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กที่แตกต่างไปจากตน

๘.๑.๑ เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กที่แตกต่างไปจากตน

๘.๑.๑ เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กที่แตกต่างไปจากตน

๘.๒ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

๘.๒.๑ เล่นร่วมกับเพื่อน

๘.๒.๑ เล่นหรือทำงานร่วมกับเพื่อนเป็นกลุ่ม

๘.๒.๑ เล่นหรือทำงานร่วมมือกับเพื่อนอย่างมีเป้าหมาย

๘.๒.๒ ยิ้มหรือทักทายผู้ใหญ่และบุคคลที่คุ้นเคย เมื่อมีผู้ชี้แนะ

๘.๒.๒ ยิ้ม ทักทายหรือพูดคุยกับผู้ใหญ่และบุคคลที่คุ้นเคยได้ด้วยตนเอง

๘.๒.๒ ยิ้ม ทักทายและพูดคุยกับผู้ใหญ่และบุคคลที่คุ้นเคยได้เหมาะสมกับสถานการณ์

๘.๓ ปฏิบัติตนเบื้องต้นในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

๘.๓.๑ ปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อมีผู้ชี้แนะ

๘.๓.๑ มีส่วนร่วมสร้างข้อตกลงและปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อมี      ผู้ชี้แนะ

๘.๓.๑ มีส่วนร่วมสร้างข้อตกลงและปฏิบัติตามข้อตกลงด้วยตนเอง

๘.๓.๒ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามเมื่อมี    ผู้ชี้แนะ

๘.๓.๒ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามได้ด้วยตนเอง

๘.๓.๒ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามได้เหมาะสมกับสถานการณ์

๘.๓.๓ ยอมรับการประนีประนอมแก้ไขปัญหาเมื่อมีผู้ชี้แนะ

๘.๓.๓ ประนีประนอมแก้ไขปัญหาโดยปราศจากการใช้ความรุนแรง เมื่อมีผู้ชี้แนะ

๘.๓.๓ ประนีประนอมแก้ไขปัญหาโดยปราศจากการใช้ความรุนแรงด้วยตนเอง

 มาตรฐานที่ ๙ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๙.๑ สนทนาโต้ตอบ

      และเล่าเรื่องให้

      ผู้อื่นเข้าใจ

๙.๑.๑ ฟังผู้อื่นพูดจนจบและพูดโต้ตอบเกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง

๙.๑.๑ ฟังผู้อื่นพูดจนจบและสนทนาโต้ตอบสอดคล้องกับเรื่องที่ฟัง

๙.๑.๑ ฟังผู้อื่นพูดจนจบและสนทนาโต้ตอบอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงกับเรื่องที่ฟัง

๙.๑.๒ เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆ

๙.๑.๒ เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง

๙.๑.๒ เล่าเป็นเรื่องราวต่อเนื่องได้


ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๙.๒ อ่าน เขียนภาพ

      และสัญลักษณ์ได้

๙.๒.๑ อ่านภาพ และพูดข้อความด้วยภาษาของตน

๙.๒.๑ อ่านภาพ สัญลักษณ์ คำ พร้อมทั้งชี้หรือกวาดตามองข้อความตามบรรทัด

๙.๒.๑ อ่านภาพสัญลักษณ์ คำ ด้วยการชี้หรือกวาดตามอง จุดเริ่มต้นและจุดจบของข้อความ

๙.๒.๒ เขียนขีดเขี่ย อย่างมีทิศทาง

๙.๒.๒ เขียนคล้ายตัวอักษร

๙.๒.๒ เขียนชื่อของตนเองตามแบบ เขียนข้อความด้วยวิธีที่คิดขึ้นเอง

 มาตรฐานที่ ๑๐มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๑๐.๑ มีความสามารถ ในการคิดรวบยอด

๑๐.๑.๑ บอกลักษณะของสิ่งต่างๆ จากการสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัส

๑๐.๑.๑ บอกลักษณะ และส่วนประกอบของสิ่งต่างๆ จากการสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัส

๑๐.๑.๑ บอกลักษณะส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงหรือความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ จากการสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัส

๑๐.๑.๒ จับคู่หรือเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ โดยใช้ลักษณะหรือหน้าที่การใช้งานเพียงลักษณะเดียว

๑๐.๑.๒ จับคู่และเปรียบเทียบความแตกต่างหรือความเหมือนของสิ่งต่างๆ โดยใช้ลักษณะที่สังเกตพบเพียงลักษณะเดียว

๑๐.๑.๒ จับคู่และเปรียบเทียบความแตกต่างและความเหมือนของสิ่งต่างๆ โดยใช้ลักษณะที่สังเกตพบสองลักษณะขึ้นไป

๑๐.๑.๓ คัดแยก      สิ่งต่างๆ ตามลักษณะหรือหน้าที่การใช้งาน

๑๐.๑.๓ จำแนกและจัดกลุ่มสิ่งต่างๆ โดยใช้อย่างน้อยหนึ่งลักษณะเป็นเกณฑ์

๑๐.๑.๓ จำแนกและจัดกลุ่มสิ่งต่างๆ โดยใช้ตั้งแต่สองลักษณะขึ้นไปเป็นเกณฑ์

๑๐.๑.๔ เรียงลำดับสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างน้อย ๓ ลำดับ

๑๐.๑.๔ เรียงลำดับสิ่งของหรือเหตุการณ์ อย่างน้อย ๔ ลำดับ

๑๐.๑.๔ เรียงลำดับสิ่งของและเหตุการณ์อย่างน้อย ๕  ลำดับ


ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๑๐.๒ มีความสามารถ ในการคิดเชิงเหตุผล

๑๐.๒.๑ ระบุที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการกระทำเมื่อมีผู้ชี้แนะ

๑๐.๒.๑ ระบุสาเหตุหรือผลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการกระทำเมื่อมีผู้ชี้แนะ

๑๐.๒.๑ อธิบายเชื่อมโยงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการกระทำด้วยตนเอง

๑๐.๒.๒ คาดเดา หรือคาดคะเนสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น

๑๐.๒.๒ คาดเดา หรือคาดคะเน สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น หรือมีส่วนร่วมในการลงความเห็นจากข้อมูล

๑๐.๒.๒ คาดคะเนสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น และมีส่วนร่วมในการลงความเห็นจากข้อมูลอย่างมีเหตุผล

๑๐.๓ มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและ       ตัดสินใจ

๑๐.๓.๑ ตัดสินใจในเรื่องง่ายๆ

๑๐.๓.๑ ตัดสินใจในเรื่องง่ายๆ และเริ่มเรียนรู้ผลที่เกิดขึ้น

๑๐.๓.๑ ตัดสินใจในเรื่องง่ายๆ และยอมรับผลที่เกิดขึ้น

๑๐.๓.๒ แก้ปัญหาโดยลองผิดลองถูก             

๑๐.๓.๒ ระบุปัญหา และแก้ปัญหาโดยลองผิดลองถูก

๑๐.๓.๒ ระบุปัญหาสร้างทางเลือกและเลือกวิธีแก้ปัญหา

 มาตรฐานที่ ๑๑มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๑๑.๑ ทำงานศิลปะ

ความจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

๑๑.๑.๑ สร้างผลงานศิลปะเพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเอง

๑๑.๑.๑ สร้างผลงานศิลปะเพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเองโดยมีการดัดแปลง และแปลกใหม่จากเดิมหรือมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น

๑๑.๑.๑ สร้างผลงานศิลปะเพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเองโดยมีการดัดแปลงแปลกใหม่จากเดิม และมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น

๑๑.๒ แสดงท่าทาง/เคลื่อนไหวตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์

๑๑.๒.๑ เคลื่อนไหวท่าทางเพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเอง

๑๑.๒.๑ เคลื่อนไหวท่าทางเพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเองอย่างหลากหลายหรือแปลกใหม่

๑๑.๒.๑ เคลื่อนไหวท่าทางเพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเองอย่างหลากหลายและแปลกใหม่

มาตรฐานที่ ๑๒มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๑๒.๑ มีเจตคติที่ดีต่อ

        การเรียนรู้

๑๒.๑.๑ สนใจฟังหรืออ่านหนังสือด้วยตนเอง

๑๒.๑.๑ สนใจซักถามเกี่ยวกับสัญลักษณ์หรือตัวหนังสือที่พบเห็น

๑๒.๑.๑ สนใจหยิบหนังสือมาอ่านและเขียนสื่อความคิดด้วยตนเองเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

๑๒.๑.๒ กระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม

๑๒.๑.๒ กระตือรือร้น ในการเข้าร่วมกิจกรรม

๑๒.๑.๒ กระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจบ

๑๒.๒ มีความสามารถ

        ในการแสวงหา

        ความรู้

๑๒.๒.๑ ค้นหาคำตอบของข้อสงสัยต่างๆ ตามวิธีการที่มีผู้ชี้แนะ

๑๒.๒.๑ ค้นหาคำตอบของข้อสงสัยต่างๆ ตามวิธีการของตนเอง

๑๒.๒.๑ ค้นหาคำตอบของข้อสงสัยต่างๆ โดยใช้วิธีการที่หลากหลายด้วยตนเอง

๑๒.๒.๒ ใช้ประโยคคำถามว่า “ใคร” “อะไร” ในการค้นหา

๑๒.๒.๒ ใช้ประโยคคำถามว่า “ที่ไหน” “ทำไม” ในการค้นหาคำตอบ

๑๒.๒.๒ ใช้ประโยคคำถามว่า “เมื่อไร” “อย่างไร” ในการค้นหาคำตอบ

 Vocabulary

Activity                    กิจกรรม

Activation                การเคลื่อนไหว

Beat                       จังหวะ

Pattern                    รูปแบบ

Agreement               ข้อตกลง

 การประเมิน

ประเมินตนเอง : รับผิดชอบต่องาน ตั้งใจฟังและจดบันทึกการเรียนรู้ ให้ความร่วมมือในกิจกรรม

ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีส่วนร่วมในกิจกรรม สนุกสนาน

ประเมินอาจารย์ : ให้ความรู้เพิ่มเติม สอนวิธีการสอนต่างๆ