วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2563

บทความ

การศึกษาดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย

Early Childhood Music Education

 

แนวคิดด้านการจัดการศึกษาปฐมวัย

ระบบแนวคิดพื้นฐานของการศึกษาก่อนวัยเรียนในอเมริกามีรากฐานมาจากการปฏิรูปทางศาสนา ปรัชญา การเมือง อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากยุโรปในศตวรรษที่ 17 และ 18 ที่ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของแนวคิดใหม่ทางการศึกษาโดยมีความเชื่อว่าเด็กเล็กสามารถได้รับประโยชน์จากการศึกษาที่เกิดขึ้นภายนอกบ้านและต้องการการได้รับการศึกษาที่แตกต่างไปจากเด็กโต

มาเรีย มอนเตสซอรี่ (Maria Montessori) (1870-1952) นักมนุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโรม ประเทศอิตาลี ให้ควำมสคัญกับการศึกษาด้านการสัมผัสซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาสติปัญญาให้ความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียน และเชื่อว่างานใด ๆ ก็ตามล้วนมีลำดับขั้นตอนที่สามารถแบ่งเป็นขั้นย่อย ๆ ได้ ด้วยกระบวนการนี้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ระบบการสอนนี้พยายามสร้างให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ และมีพัฒนาการ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์สังคม และสติปัญญา โดยให้เสรีภาพกับเด็กได้เลือกทำกิจกรรมตามความสนใจของตนเอง ให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ได้สังเกต ปฏิบัติ และฝึกประสบการณ์ชีวิต

จากแนวคิดทางการศึกษาปฐมวัยของนักการศึกษาที่สำคัญดังกล่าว พบว่าหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย 1) การพัฒนาเด็กอย่างมีองค์รวม คือด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา 2) การเรียนรู้ผ่านทางการ ทำกิจกรรม การเล่น โดยเน้นการสร้างประสบการณ์ตรง ให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง3) การเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมและออกความคิดเห็น และ 4) ครูทำหน้าที่เป็นผู้ช่วย ผู้จัดและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก แนวคิดนี้เหล่านี้ได้กระจายออกไปและถูกนำไปพัฒนาต่อโดยนักการศึกษานักวิจัยและนักปรัชญามากมาย

ความสำคัญของการจัดการศึกษาดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย

ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราทุกคน (Pitts, 2012; UNESCO, 2012)ทั้งแบบเป็นทางการ ไม่เป็นทางการ และกึ่งทางการ ผ่านทางสื่อมีเดียต่าง ๆทั้ง YouTube หรือสื่ออิเลคโทรนิคอื่น ๆ เด็กควรได้รับโอกาสได้มีส่วนร่วมและประสบการณ์ทางดนตรีผ่านทางกิจกรรมที่หลากหลายนอกเหนือจากการเล่นเครื่องดนตรี หรือการเรียนดนตรีในชั้นเรียนเท่านั้น เด็กควรมีประสบการณ์ในการร้องการเต้นทั้งแบบเดี่ยว และการเต้นร่วมกับผู้อื่น

กิจกรรมดนตรีมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาของเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการเรียนรู้ที่สำคัญมักเกิดขึ้นในช่วงวัยนี้การเรียนรู้อย่างมีความหมายจะเกิดขึ้นได้ต้องมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ด้านคือ1) การทำซ้ำ 2) การทำอย่างสม่ำเสมอ และ 3) การมีส่วนร่วม (engagement)การเล่นดนตรี (musical play) จะสร้างให้เด็กมีพลังในการเชื่อมโยงการเรียนรู้ของพวกเขา

ประสบการณ์ทางดนตรีของเด็ก จะส่งผลต่อความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมรอบตัวของเด็กมากขึ้น การฟัง การร้องเพลง และการเคลื่อนไหว จะสร้างให้เกิดความสัมพันธ์และการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรง ต่อสิ่งแวดล้อมและเพื่อนร่วมชั้นเรียนสร้างความสมดุลทางอารมณ์ ช่วยผ่อนคลายความเครียด บทเพลง กิจกรรมดนตรีและเกมส์ต่างๆ ส่งผลเชิงบวกต่อระดับอารมณ์ของพวกเขาอีกด้วย นอกจากนี้การศึกษาดนตรียังพัฒนาความฉลาดของเด็ก การเรียนรู้เนื้อเพลง ท านองเพลง และการตีความเพลงจะช่วยพัฒนาความจำของเด็ก

สรุป

การจัดการศึกษาดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นเรื่องละเอียดอ่อนซึ่งนอกเหนือจากการสอนทักษะดนตรีแล้วนั้น ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องต้องมีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจในปรัชญา แนวทาง และหลักการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยด้วย การเข้าใจสภาพ และปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมมือกันด้วยความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการจัดการและพัฒนาการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างถูกต้องร่วมกันของทุกภาคส่วน จะทำให้การจัดการศึกษาดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น

อ้างอิง  http://ejs.bsru.ac.th/musicjournal/uploads/files/journals/journal1_1/02_Article2.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น