วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2563

Learning Logs 4

วันที่ 31 สิงหาคม 2563

 

ความรู้ที่ได้รับ

    อาจารย์จัดกิจกรรมให้ทุกคนได้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ตามจินตนาการ โดย การทำท่าประกอบชื่อของตัวเอง โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายทำให้เกิดเสียง

เช่น สาธินี  สา – ปรบมือ

              ธิ  -  ดีดนิ้ว

              นี –  ตบตัก

          ทำแบบนี้ไปเรื่อยจนครบทุกคน และให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 7 คน ทำกิจกรรมต่อไปโดยอาจารย์จะเปิดเพลงและให้เราได้เคลื่อนไหวตามจังหวะ 1-2 รอบ และให้แต่ละกลุ่มได้คิดถ้าเต้นต่างๆ ที่สามารถนำมาสอนเด็กได้ และให้ทุกกลุ่มเต้นให้ และจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อให้นักศึกษารู้จักจังหวะของเพลง การเคลื่อนไหวส่วนต่าง การทำท่าประกอบ

                           การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ BBL สู่การพัฒนาทักษะการคิด


การจัดการเรียนการสอน แบบ BBL (Brain Based Learning)

    Brain Based Learning คือ การใช้ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับสมองเป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์  โดยเชื่อว่าโอกาสทองของการเรียนรู้อยู่ระหว่างแรกเกิด – 10 ปี  Regate และ Geoffrey Caine นักวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับสมองเป็นหลัก  ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่มีความสัมพันธ์กับสมองไว้ดังนี้

 

1. สมองเป็นกระบวนการคู่ขนานสมองเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญที่สุดในร่างกายของคนเรา  เพราะการที่มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ  ได้นั้นจะต้องอาศัยสมองและระบบประสาทเป็นพื้นฐานของการรับรู้  รับความรู้สึกจากประสาทสัมผัส  ได้แก่  ตาทำให้เห็น  หูทำให้ได้ยิน  จมูกทำให้ได้กลิ่น  ลิ้นทำให้ได้รับรส  และผิวกายทำให้เกิดการสัมผัส

2. สมองกับการเรียนรู้สมองไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะรับรู้แต่เพียงอย่างเดียว  แต่จะเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการพัฒนาของอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย  ซึ่งจะรวมถึงการคิด  การเรียนรู้  การจำ  และพฤติกรรมของมนุษย์  มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนควรจะมีความรู้เรื่องที่เกี่ยวกับการทำงานและการพัฒนาของสมอง  เพื่อจะได้วางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะที่กระตุ้นให้สมองคิดและทำงานแบบท้าทาย  ยั่วยุมากที่สุด  ผู้เรียนได้คิดและแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ในทุกด้าน  ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิดและเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ  เป็นรากฐานไปสู่การเป็นคนดี  คนเก่งและมีความสุขในการดำรงชีวิตและเมื่อเติบโตขึ้นจะได้เป็นเยาวชนพลเมืองที่ดีของสังคมต่อไป

3.  การเรียนรู้มีมาแต่กำเนิดในการเรียนรู้ของบุคคลเรานั้นจะเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มมีชีวิต  และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าการเรียนรู้ที่ดีที่สุดนั้นจะต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเองหรือเป็นการเรียนรู้โดยประสบการณ์ตรง

4.  รูปแบบการเรียนรู้ของบุคคล ผู้เรียนในห้องเรียนหนึ่ง ๆ มักจะมีผู้ถนัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของตน  ครูจึงจำเป็นต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนทุกรูปแบบอย่างเสมอภาคกัน  เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนุกสนานและเกิดความสุขในการเรียนรู้ตามรูปแบบที่ตนถนัด  รวมทั้งยังมีโอกาสพัฒนาความสามารถด้านอื่น ๆ  ที่ตนไม่ถนัดอีกด้วย

5.  ความสนใจมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ ความสามารถพิเศษของมนุษย์  แบ่งออกเป็น  8  ด้านด้วยกัน  มนุษย์ย่อมมีความแตกต่างระหว่างบุคคล  แต่ละคนมักจะมีความเก่งไม่เหมือนกัน  ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการพัฒนาตนเอง  โดยเริ่มจากรู้จักตนเอง  รู้จุดเด่น  จุดด้อย  ค้นหาวิธีการพัฒนาความเก่งให้แก่ตนเองที่จะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีความสุขและเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย

6.  สมองมีหน้าที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ สมองของคนเราแบ่งออกเป็น  2  ซีก  คือซีกซ้ายกับซีกขวา  สมองทั้งสองด้านมีความสัมพันธ์กัน  สมองมีหน้าที่  ควบคุมการรับรู้  การคิด  การเรียนรู้และการจำ  ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย  และควบคุมความรู้สึกและพฤติกรรม

7.  การเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจสามารถรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสมองจะซึมซับข้อมูลที่บุคคลมีความสนในเรื่องนั้นอยู่แล้ว  เชื่อมโยงกับข้อมูลความรู้ใหม่  ประสานข้อมูลความรู้เข้าด้วยกัน  ซึ่งหมายความว่า  การเรียนรู้ของมนุษย์จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น  เมื่อมีการเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เดิมของผู้เรียนกับการจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง

8.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการทั้งในแบบที่มีจุดมุ่งหมายและไม่ได้ตั้งใจ การเรียนรู้ของคนส่วนใหญ่มักเกิดการเรียนรู้ขึ้นได้จากสิ่งที่ไม่ได้ตั้งใจ  สามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ในสถานการณ์จริง  เช่น  ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เผชิญอยู่โดยไม่ได้คิดในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาก่อน  โดยอาศัยประสบการณ์เดิมของแต่ละบุคคลในการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

9.  การเรียนรู้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างความเข้าใจ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากกระบวนการที่สร้างความเข้าใจ  และให้ความหมายกับสิ่งที่รับรู้มา  มีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง  สอน/แนะนำบนพื้นฐานความรู้  ประสบการณ์และทักษะที่มีอยู่เดิมของผู้เรียน

10.  การเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ภาษาแรกของมนุษย์เราถูกเรียนรู้จากประสบการณ์ที่มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างหลากหลาย  ด้วยคำศัพท์และไวยกรณ์  ถูกเรียนรู้โดยกระบวนการเรียนรู้ภายในของบุคคลที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมและสิ่งแวดล้อมภายนอก  การเรียนรู้คือการส่งเสริมให้ผู้เรียนเผชิญกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นการเรียนรู้เซลล์สมองจะเกิดมีการเชื่อมต่ออย่างสูงสุด  เมื่อถูกกระตุ้นให้เผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทายให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้  โดยผ่านกระบวนการเล่นอย่างสนุกสนาน  และมีความสุข 

 


          3 ด้านที่อยู่กลางของภาพ คือกลุ่ม“ทักษะพื้นฐาน” ซึ่งเป็นส่วนประกอบพื้นฐาน ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็น “ฐาน” ของการพัฒนา EF ด้านอื่นๆที่อยู่รอบนอก

กลุ่มทักษะพื้นฐาน

Working memory = “ความจำที่นำมาใช้งาน” คือ ความสามารถในการเก็บประมวล และดึงข้อมูล ที่ได้มาจากประสบการณ์เดิมในชีวิต และเก็บไว้ในคลังสมองของเรา นำออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ ยิ่งมากประสบการณ์ ความจำที่นำมาใช้งานก็ยิ่งมาก

Inhibitory Control = การยับยั้งชั่งใจ คิดไตร่ตรอง คือ ความสามารถในการควบคุมแรงปรารถนา ของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในเวลาที่สมควร เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ จะเหมือน “รถที่ขาดเบรก” อาจทำโดยไม่คิด หรือมีปฏิกิริยาตอบโต้แบบไม่ไตร่ตรอง นำมาซึ่งปัญหาแก่ตนเองต่อไป

Shifting หรือ Cognitive Flexibility = คือ ความสามารถในการยืดหยุ่นความคิด เปลี่ยนจุดสนใจ เปลี่ยนโฟกัสหรือทิศทางให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เด็กที่มีปัญหาในเรื่องการปรับตัว มักจะติดตันอยู่กับสิ่งเดิมๆ ไม่สามารถยืดหยุ่นพลิกแพลงได้ มองไม่เห็นทางออกใหม่ๆไม่สามารถคิดสิ่งใหม่ๆ นอกกรอบได้ ส่วนคนที่ปรับตัวง่าย กินง่าย อยู่ง่าย ก็จะดำเนินชีวิตไปได้ง่ายกว่า

กลุ่มทักษะกำกับตนเอง

Focus Attention = ความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจ อยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่อง ในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวกไปตามปัจจัยไม่ว่าภายนอกหรือภายในตนเอง ที่เข้ามารบกวน เด็กที่มีใจจดจ่อกับสิ่งที่ทำก็จะเรียนได้ดี ทำงานสำเร็จได้ง่าย

Emotional Control = การควบคุมอารมณ์ คือ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียด หรืออารมณ์หงุดหงิดไม่พอใจ และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น เด็กที่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้มักโกรธเกรี้ยวฉุนเฉียว ขี้หงุดหงิดเกินเหตุ หรือขี้กังวล อารมณ์แปรปรวน และอาจซึมเศร้าได้  การควบคุมอารมณ์ได้ดี เป็นทักษะชีวิตที่สำคัญอย่างยิ่งทักษะหนึ่งที่มนุษย์ทุกคนพึงมี

Self-Monitoring = คือ การตรวจสอบตนเอง รู้จักจุดแข็งจุดอ่อนของตนเอง ตั้งแต่การรู้อารมณ์ตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดดีจุดบกพร่อง ประเมินการบรรลุเป้าหมาย ติดตามปฏิกิริยาของตนเองและดูผลจากพฤติกรรมของตนเองที่ไปกระทบต่อผู้อื่น

กลุ่มทักษะปฏิบัติ

Initiating = ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิด มีทักษะในการริเริ่มสร้างสรรค์ สิ่งต่างๆ และเมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำให้ความคิดของตนปรากฏขึ้นจริง ไม่ผัดวันประกันพรุ่งหรือโอ้เอ้ศาลาราย

Planning and Organizing = การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการเริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการดำเนินการคือการแตกเป้าหมายให้เป็น ขั้นตอนกระบวนการ และมีการประเมินผล คนที่มีทักษะกลุ่มนี้จะเป็นคนที่วางแผนเก่ง ทำงานเป็น

Goal-¬Directed Persistence = ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้ว ก็มีความมุ่งมั่นอุตสาหะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ คนที่ล้มแล้วลุกได้ก็จะมีฐานคิดของความมุ่งมั่นพากเพียรนี่เอง

จากลักษณะของ EF ทั้ง 9 ด้าน คงจะทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า มนุษย์เราทุกคนใช้ทักษะสมอง EF ในชีวิตอยู่ตลอดเวลา เป็นทักษะในการดำเนินชีวิตให้เป็นปกติ เป็นทักษะที่เราใช้ในการจัดการกับการเรียนรู้ ใช้ในการตัดสินใจ เพื่อจัดการกับปัญหาต่างๆ และใช้ในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเองและต่อสังคม

EF จึงเป็นทักษะที่มีความสำคัญยิ่งยวด ถ้าพัฒนาได้ดีเต็มศักยภาพ ก็จะทำให้เราเป็นคนที่ “คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และหาความสุขเป็น”นำมาซึ่งความสำเร็จทั้งในการเรียน การทำงานอาชีพ และการสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ นั่นเอง แต่ถ้า EF ทั้ง 9 ด้านนี้ไม่ได้รับการพัฒนา หรือพัฒนามาอย่างกะพร่องกะแพร่ง ก็พอจะคาดเดาได้ว่า ชีวิตบุคคลนั้นๆ ก็จะเต็มไปด้วยปัญหาเพียงใด

EF สำคัญอย่างไรต่อการพัฒนาเด็ก

เมื่อเด็กได้รับโอกาสพัฒนา EF ทั้งตัวเด็กเองและสังคมจะได้รับประโยชน ์ เพราะจะช่วยสร้างพฤติกรรม เชิงบวกและ ช่วยในการตัดสินใจในทางที่สร้างสรรค์ต่อตัวเอง และต่อคนอื่นๆ หากเด็กมีทักษะ EF เขาจะมี

ความสามารถในการคิด การรู้สึกและการจัดการตนเองที่ดี เช่น ;

มีความจำดี มีสมาธิจดจ่อสามารถทำงานต่อเนื่องได้จนเสร็จ

รู้จักวิเคราะห์ วางแผนงานเป็นระบบ ลงมือทำงานได้ และจัดการงาน จนเสร็จตามกำหนด

นำสิ่งที่เคยเรียนรู้มาก่อนในประสบการณ์มาใช้ในการทำงานหรือกิจกรรมใหม่ได้

ปรับเปลี่ยนความคิดได้เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน ไม่ยึดติดตายตัว และอาจพัฒนาไปถึงขั้นความคิดสร้างสรรค์ คิด

นอกกรอบได ้

รู้จักประเมินตนเอง นำจุดบกพร่องมาปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นได้  รู้จักแก้ปัญหา

รู้จักยับยั้งควบคุมตนเอง ไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แม้จะมีสิ่งยั่วยวน

รู้จักแสดงออกกับเพื่อนหรือในสังคมอย่างเหมาะสม นำไปสู่การรู้จัก เคารพผู้อื่น อยู่กับคนอื่นได้ดี ไม่มีปัญหา

เป็นคนที่อดทนได้ รอคอยเป็น

มีความอุตสาหะพากเพียร ล้มและลุกขึ้นสู้ใหม่ได้ มุ่งมั่นที่จะไปสู่ความสำเร็จ

Vocabulary

Imagination              จินตนาการ

Learning                  การเรียนรู้

Brain activity             การทำงานของสมอง

Thinking skills           ทักษะการคิด

Design                     การออกแบบ

การประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังและจดบันทึกการเรียนรู้

ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีส่วนร่วมในการบรรยาย

ประเมินอาจารย์ : ให้ความรู้เพิ่มเติมจากเดิม และวิธีการที่นำไปใช้กับเด็กได้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น