วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2563

Learning Logs 2

วันที่ 17 สิงหาคม 2563

 

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ให้แต่ละโรงเรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หลังจากได้สังเกตการสอน 15 วัน ซึ่งแต่ละโรงเรียนได้พูดถึง “กิจวัตรประจำวัน” และกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน เช่น จะมีกิจกรรมตอนเช้า การสวดมนต์ยาว การเล่านิทานตอนเช้า การออกกำลังกาย การอบรมเช้า การสงบนิ่ง

ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกัน การแลกเปลี่ยนสามารถนำไปปรับใช้จริงได้ เช่น มีการอบรมตอนเช้า

การสอนรูปแบบต่างๆดังนี้

-แนวการสอนแบบวอลดอร์ฟ  (Waldorf)

-แนวการสอนแบบโครงการ  (Project  Approach)

-แนวการสอนแบบไฮสโคป  (High/Scope)

                อาจารย์ให้วิธีการร้องเพลง การเก็บเด็ก เพลงที่นำไปกับเด็กได้จริง

เพลง กุมมือกัน

มือกุมกัน แล้วก็ยืนตรงๆ ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนตรง

*ให้เด็กฝึกสมาธิ ทำจิตใจให้สงบ

 

เพลงนั่งสมาธิ

นั่งขัดสมาทให้ดี สองมือวางทับกันทันที หลับตาตั้งตัวตรงสิ

ตั้งสติให้ดี ภาวนาในใจ พุธโธ (ซ้ำ 3 ครั้ง)

 

 

กิจกรรมให้แต่กลุ่มตามโรงเรียนที่ไปสังเกตการสอน เขียนความรู้ที่เกี่ยวกับ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ว่าเป็นอย่างไร

กิจกรรมการเคลื่อนไหวจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายอย่างอิสระตาม จังหวะ โดยใช้เสียงเพลงคำคล้องจองการปฏิบัติตามสัญญาณ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือเสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก ตีฉิ่ง กลอง ระนาด ฯลฯ มาประกอบการเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิกสร้างสรรค์ เด็กวัยนี้ร่างกายกำลังอยู่ระหว่างพัฒนาใช้ส่วนต่างๆ ร่างกายยังคงมาผสมผสาน หรือประสานสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์มากนัก การเคลื่อนไหวร่างกายของเด็กอาจยังดูไม่มั่นคง

การเคลื่อนไหวมีลักษณะ ดังนี้

1. ช้า ได้แก่  การคืบ คลาน                                     

2. เร็ว ได้แก่  การวิ่ง                        

3. นุ่มนวล  ได้แก่  การไหว้  การบิน                           

4. ขึงขัง   ได้แก่  การกระทืบเท้าดังๆ  ตีกลองดังๆ

5. ร่าเริงมีความสุข  ได้แก่  การตบมือ  การหัวเราะ        

6. เศร้าโศกเสียใจ  ได้แก่  สีหน้า  ท่าทาง ฯลฯ

ทิศทางการเคลื่อนไหว

1. เคลื่อนไหวไปข้างหน้า  และข้างหลัง                     

2. เคลื่อนไหวไปข้างซ้าย และข้างขวา

3. เคลื่อนตัวขึ้นลง                                                

4. เคลื่อนไหวรอบทิศ

เคลื่อนไหวพื้นฐาน

ได้แก่ การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของเด็กมี 2 ประเภท

1.เคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ ตบมือ ผงกศีรษะ  ขยิบตา ชันเขา เคาะเท้า เคลื่อนไหวมือและแขน มือและนิ้ว เท้าและปลายเท้า

1.การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่  ได้แก่  คลาน คืบ เดิน วิ่ง  กระโดด ควบม้า

ก้าวกระโดด

รูปแบบการเคลื่อนไหวและจังหวะ

1.การเคลื่อนไหวตามบทเพลง ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางประกอบเพลง เช่น เพลง ข.ไข่ หรือเพลงตามสมัยนิยม เป็นต้น

2.การเล่นหรือการทำท่าทางตามคำบรรยาย เรื่องราว ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือแสดงท่าทางตามจินตนาการจากเรื่องราวหรือคำบรรยายที่ผู้สอน เล่า

3.การปฏิบัติตามคำสั่ง หรือข้อตกลงได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทาง ตามสัญญาณตามคำสั่งตามที่ตกลงไว้ก่อนเริ่มกิจกรรม

4.การฝึกท่าทางเป็นผู้นำ ผู้ตามได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางจากความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเองแล้วให้เพื่อนปฏิบัติตามกิจกรรม





Vocabulary

Activity                    กิจกรรม

Activation                การเคลื่อนไหว

Beat                       จังหวะ

Pattern                    รูปแบบ

Agreement               ข้อตกลง

 

การประเมิน

ประเมินตนเอง : รับผิดชอบต่องาน ตั้งใจฟังและจดบันทึกการเรียนรู้ ให้ความร่วมมือในกิจกรรม

ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีส่วนร่วมในกิจกรรม สนุกสนาน

ประเมินอาจารย์ : ให้ความรู้เพิ่มเติม สอนวิธีการสอนต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น